renovate บ้าน 2 ชั้น การรีโนเวทบ้าน คือ การปรับปรุงบ้านเก่าให้กลาย เป็นบ้านหลังใหม่ที่มีความสวยงาม ไม่เสื่อมสภาพอย่างเดิม และกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก สำหรับผู้ที่กำลังต้อง การรีโนเวทบ้าน หรือ ซื้อบ้านเก่ามา และมีความต้องการ ที่จะทำบ้านใหม่ ต้องมีการคำนึงถึง องค์ประกอบและส่วนสำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบ้าน ของคุณด้วยเช่นเดียวกัน
renovate บ้าน 2 ชั้น
ปรับปรุงบ้านให้อยู่สบายไม่ร้อน บ้านเดี่ยวหลังนี้สร้างขึ้นในทศวรรษที่ 80ในสภาพที่ทรุดโทรม บางส่วนของบ้านไม่ได้ใช้งานถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ เจ้าของใหม่จึงต้องการปรับเปลี่ยน ทั้งหน้าตาและฟังก์ชั่นการใช้งาน ที่เหมือนใหม่ และความสวยงามสำหรับ ครอบครัวของพวกเขาที่กำลังจะเข้ามาอยู่ที่นี่ในไม่ช้า บทสรุปที่ได้หลังการปรับปรุงครั้งใหญ่ คือพื้นที่เปิดโล่งที่มี ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับสวนกลางแจ้ง และสามารถใช้งานพื้นที่ได้จริงทั้งหมด ไม่มีส่วนไหนที่เกินความจำเป็น แถมยังสอดคล้องกับสภาพอากาศร้อนชื้น ของศรีลังกาได้ดีด้วย

รีโนเวทบ้านเก่าสองชั้น ปรับลุคและฟอร์มใหม่ ให้โปร่งสว่างสบาย
บ้าน ในโมราตูวา ประเทศศรีลังกา อาคารเดิมออกแบบมาสำหรับสมาชิก 4 คน มีเฉลียงและระเบียงที่ไม่ได้ใช้งาน ตัวอาคารดูปิดรอบด้าน ทำให้การเชื่อมต่อกับพื้นที่ นอกบ้านทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร แม้จะมีประตูหน้าต่างหลายบานแต่ โดยรวมบ้านยังดูมืดและอับ ความตั้งใจในการออกแบบปรับปรุงของสถาปนิกคือ
การกำหนดพื้นที่ใหม่ ให้รองรับครอบครัวที่มี 5 คน มีพื้นที่รับรองแขก และที่จอดรถในร่มสำหรับรถ 2 คัน ความท้าทายที่เกิด จากการออกแบบเพิ่มเติมและดัดแปลงบ้าน อยู่ที่การเพิ่มพื้นที่ที่สร้าง ขึ้นในขณะที่ยังคงรักษาพื้นที่ สวนที่กว้างขวางไว้ เพื่อคืนวิถีชีวิตที่โปร่งสบาย เป็นอิสระให้ผู้อยู่อาศัยผ่านสเปซ และภูมิทัศน์ที่มีอยู่
อาจเป็นเรื่องยากที่จะผสานแนวคิด ทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน ระหว่างบ้านที่ค่อนข้างปิดในทศวรรษที่ 1980 และการเปิดเผยโปร่งเบาแบบร่วมสมัย โดยไม่ทำให้ เกิดภาพความขัดแย้ง แต่ในกรณีนี้สถาปนิก สามารถก้าวข้าม ข้อจำกัดเหล่านั้นได้ ด้วยการคิดค้นรูปแบบ ที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยการขยายตัวอาคารผ่านวัสดุ และโครงสร้างที่ดูมีน้ำหนักเบา สิ่งใหม่เพิ่มเติมในโครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็กที่มีอยู่ คือ โครงเหล็ก กระจก และไม้ ภาพรวมของบ้านที่ ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ จึงดูมีความซับซ้อนขึ้น แต่อบอุ่นในเวลาเดียวกัน

ผนังเดิมที่เป็นอิฐก่อฉาบปูน ในหลายจุดถูกรื้อออก แล้วปรับเปลี่ยนใส่โครงเหล็ก และแผ่นกระจกใสในบริเวณกว้าง เพื่อเติมความโปร่ง เบา เปิดมุมมองอย่างอิสระให้ คนในบ้านสามารถปฏิสัมพันธ์ กับสวนข้างบ้านได้ง่ายขึ้น และยังเป็นพื้นที่รับแสงธรรมชาติยามเช้า อันอบอุ่นให้เข้ามาสร้างความมีชีวิตชีวาได้เต็มที่ ในขณะเดียวกันสถาปนิก ก็ไม่ได้ปล่อยให้แสง เข้ามาทำร้ายบ้านจนร้อน เพราะในจุดที่ต้องการลดทอน ความรุนแรงของแสงจะมีแผงไม้ระแนงตีในแนวนอน ทำหน้าที่กรองแสงอีกชั้นหนึ่ง และยังมอบความเป็นส่วนตัว ให้กับบ้านไปพร้อมกัน
ในส่วนของการเปลี่ยนแปลง ภายในของบ้านหลังนี้ จากการรื้อผนังบ้านแบ่งห้องเล็ก ห้องน้อยเดิมที่ทำให้ บ้านรู้สึกแคบ และอึดอัด ปรับเปลี่ยนเป็นแปลนแบบ open plan ในชั้นล่าง ทำให้พื้นที่ใช้สอยโดยรวมเปิดโล่ง และดูกว้างขึ้น จากนั้นสถาปนิกก็จัดวางห้องนั่งเล่น ต้อนรับแขก ชุดโต๊ะทานข้าว และเคาน์เตอร์ครัว ให้ต่อเนื่องกันไปในพื้นที่เดียว โดยไม่มีผนังมาแบ่งกั้น นอกจากบ้านจะดูกว้างขึ้น ไม่อับไม่ทึบแล้ว ยังช่วยให้การสัญจรจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งทำได้ง่าย สมาชิกในบ้านเข้ามา ใช้งานพื้นที่ร่วมกันได้หมด
ประตูกระจกบานเลื่อนขนาดใหญ่ เปิดออกได้กว้างหลายเมตร ต่อเชื่อมกับชานบ้าน ที่ปูด้วยไม้กว้างๆ ในส่วนที่ตรงกับครัว และโต๊ะทานข้าว ทำให้พื้นที่ปรุงอาหารนี้ไม่ได้มีหน้าที่ เป็นคลังเสบียงเท่านั้น ยังสามารถสร้างความเพลิดเพลิน ได้ในฐานะพื้นที่สังสรรค์ เพราะสวนได้ถูกเบลอขอบเขตให้กลายเป็นส่วนขยายของพื้นที่ ใช้สอยของบ้านไปด้วยในตัว

ห้องครัวกว้างขวางมา พร้อมการตกแต่งที่ทันสมัย และอุปกรณ์ทำครัวครบครัน เป็นการผสมผสานที่สมบูรณ์ แบบของรูปแบบ และการใช้งาน ห้องครัวแบบเปิดโล่งที่อยู่ติดกับ ส่วนรับประทานอาหาร และห้องครัวขนาดใหญ่ ช่วยให้การหมุนตัวหยิบจับ ขณะทำอาหาร และการเดินอาหารเป็นไปลื่นไหลอย่างไม่มีสิ่งกีดขวาง และมีพื้นที่สำหรับเพื่อน และครอบครัวในการรวมตัว กันเพื่อเตรียมอาหาร
สำหรับจุดโฟกัสสายตา ในชั้นล่างอีกหนึ่งจุด จะที่อยู่ตรงบันไดโครงสร้างเหล็ก สีดำลูกนอนไม้ ที่เกิดขึ้นจากการรื้อบันไดเดิมออก แล้วเจาะพื้นเพดานชั้นสองเดิมออก เพิ่มปริมาตรความสูงสองเท่า (Double Space) ที่ไม่มีอยู่ในบ้านหลังเก่า เสริมด้วยตัวบันไดใหม่ เป็นส่วนที่ปรับเปลี่ยนมากที่สุดในบ้าน ซึ่งข้อดีของการทำโถงสูง คือทำให้บ้านดูสูงโปร่ง แสงธรรมชาติกระจายได้ทั่ว การลอยตัวของอากาศร้อน ขึ้นสู่ที่สูงและระบายออกจากบ้านตามธรรมชาติ ก็ทำได้ดีขึ้น บ้านจึงเย็นสบาย และยังเพิ่มความรู้สึกใกล้ชิดระหว่างชั้น ให้คนที่อยู่ชั้นบน และชั้นล่างมองเห็นกันได้

พื้นที่ส่วนตัวในบ้านมากขึ้น เช่น ห้องนอนและห้องน้ำ จะถูกกั้นไว้เป็นบล็อกก่อทึบของบ้าน เพื่อความเป็นส่วนตัว ในขณะที่พื้นที่ทางสังคม เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัว จะอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งของบ้านที่ เชื่อมต่อกับภายนอก การปิดหรือเปิดบ้าน ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้สอย ให้ตอบโจทย์ชีวิต ได้มากที่สุดซึ่งบ้านเดิมไม่มีในจุดนี้
ในบ้านเขตร้อนชื้นนั้น แสงธรรมชาติยังมีความจำเป็น แต่เจ้าของบ้านหลายคน ยังเข้าใจผิดว่าในเขตที่ แสงรุนแรงนั้น ต้องปิดบ้านให้ทึบเพื่อหนีแสง ซึ่งวิธีนั้นนอกจากไม่ได้ ทำให้ความร้อนลดลงแล้ว ยังมีผลให้บ้านอับ ชื้น ทึบ เนื่องจากไม่มีพื้นที่รับแสง ให้เข้ามาลดความชื้น ในฤดูฝน และไม่มีช่องทางระบายอากาศที่เพียงพอ สิ่งที่สถาปนิกแนะนำ สำหรับบ้านเขตร้อนชื้นคือ ควรมีช่องเปิดขนาดใหญ่ใน ทิศทางที่ลมไหลผ่าน ช่องแสงอย่างหน้าต่างติด กระจกสามารถทำได้ แม้ในทิศที่แดดร้อน เช่น ทิศตะวันตกและทิศใต้ แต่ต้องมีตัวช่วยกรองแสง อย่าง แนวต้นไม้ ฟาซาดบล็อกช่องลมโปร่งๆ แผงหรือฉากกันแสงทำจากไม้ระแนง เป็นต้น

วิธีและไอเดียรีโนเวทบ้านเก่าราคาประหยัด
1.เพิ่มห้อง ก่อกำแพง เพิ่มพื้นที่ใช้สอย
หลายๆ บ้านที่ต้องการ รีโนเวทบ้านเก่า มักจะรีโนเวทเพราะต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเป็นหลัก ไม่ว่าจะด้วยครอบครัวขยาย มีสมาชิกเพิ่ม หรือต้องการต่อเติมเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่
โดยสิ่งที่ทำได้อาจเป็นการเพิ่มห้องด้วยการกั้นห้อง การก่อกำแพงปิดระเบียงเพื่อเปลี่ยนเป็นห้อง หรือการก่อกำแพงกั้นชั้นลอยหรือใต้ถุนบ้านให้เป็นอีกชั้น หรือเพิ่มห้องที่ใช้ประโยชน์ได้จริง
แน่นอนว่าวิธีการรีโนเวทบ้านเก่าวิธีการนี้ กระทบกับโครงสร้างบ้าน หากจะต่อเติมต้องดูเรื่องผลกระทบ ความปลอดภัย และกฎหมายให้ดีก่อน มิฉะนั้น อาจมีปัญหาอื่นๆ ตามมาได้
2.ทุบกำแพง เชื่อมห้อง ขยายพื้นที่ใช้สอย
ไอเดียรีโนเวทบ้านเก่าไอเดียนี้ ก็เป็นอีกไอเดียที่นิยมกันมาก ด้วยการทุบกำแพงเพื่อขยายพื้นที่ใช้สอย เช่น เชื่อมต่อห้องสองห้องเข้าด้วยกันเป็นโถงเดียว วิธีการนี้ทำให้เหมือนได้บ้านใหม่ไปโซนหนึ่ง บ้านดูโปร่งโล่ง ดูสบายมากขึ้น จากบ้านเก่าที่อาจจะแบ่งห้องเป็นสัดเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป
นอกจากนี้ การทุบกำแพงเชื่อมห้องก็เป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเช่นเดียวกับวิธีการก่อกำแพงกั้นห้อง เพียงแต่ว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในคนละมุมกันข้อควรระวังของการทุบกำแพง แนะนำให้ดูเรื่องระบบน้ำระบบไฟฟ้าให้ดี ถ้าทุบจำเป็นต้องเปลี่ยนการเดินสายไฟหรือท่อน้ำหรือไม่
3.เพิ่มความสว่าง เสริมบรรยากาศให้บ้านดูใหม่
หากโจทย์ของคุณ คือ การปรับปรุงบ้านให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น การจัดแสงไฟใหม่ก็สามารถปรับเปลี่ยนบรรยากาศภายในบ้านใหม่ได้แล้ว โดยอาจเริ่มง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนหลอดไฟจากโทนอุ่นมาโทนเย็น หรือโทนเย็นไปโทนอุ่น การเพิ่มแสงในมุมที่เคยอับทึมมาก่อน หรือจะเป็นการเพิ่มไฟตกแต่งเพิ่ม
บางทีไฟเพียงไม่กี่ดวงอาจช่วยให้คุณรู้สึกเหมือนได้บ้านใหม่เลยก็ได้ คุณอาจใช้ไอเดียนี้ร่วมกับไอเดียรีโนเวทบ้านเก่าราคาประหยัดข้ออื่นๆ ได้ด้วย โดยเฉพาะหากคุณต้องการเปลี่ยนบรรยากาศของบ้าน

4.ให้แสงธรรมชาติเข้ามาในบ้านได้มากขึ้น
ให้แสงธรรมชาติเข้ามาในบ้านได้มากขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มแสงไฟในบ้าน การเพิ่มแสงธรรมชาติเข้ามาในบ้านจะช่วยทำให้บรรยากาศในบ้านดูสดชื่นเป็นธรรมชาติมากขึ้น
สิ่งที่ช่วยให้แสงธรรมชาติเข้ามาได้บ้านมากขึ้น ทำได้หลายวิธีมาก เช่น การติดกระจกโปร่งแสงเพิ่ม การเพิ่มหน้าต่าง การเจาะหน้าต่างให้ใหญ่ขึ้นการใช้ผนังกระจก การติดอิฐแก้ว การเจาะช่องแสงบนเพดาน จนไปถึงการตัดแต่งต้นไม้ไม่ให้ร่มเงาบดบังแสง
5.ทาสีหรือเปลี่ยนบรรยากาศบ้านด้วยผนัง
สำหรับ รีโนเวทบ้านเก่าราคาประหยัด การทาสีบ้านใหม่คงจะเป็นไอเดียที่ใครๆ หลายคนนึกถึง เพราะแค่ทาสีใหม่ก็เหมือนได้บ้านใหม่ทั้งหลัง เนื่องจากผนังก็เหมือนผิวหนังของตัวบ้านที่ไม่ว่าใครก็มองเห็น ส่งผลต่อบรรยากาศ 100% แค่โทนสีเปลี่ยนบรรยากาศก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นคนละอย่างแล้ว
โดยคุณอาจเปลี่ยนจากผนังห้องเรียบๆ ให้มีสีสันเพิ่มขึ้น เปลี่ยนจากผนังสีเก่าที่ดูทึมๆ ด้วยสีใหม่ที่ดูสว่างสดชื่น หรือจะเพิ่มลวดลายสร้างความโดดเด่นมีชีวิตชีวาให้ห้องหรือตัวบ้านก็ได้
และนอกจากจะทาสีใหม่แล้ว คุณอาจเปลี่ยนวัสดุของผนัง เปลี่ยนจากผนังไม้กระดานเป็นผนังปูน จากผนังปูนเป็นวอลเปเปอร์ หรือต่อเติมทำผนังอิฐก็แล้วแต่ความสร้างสรรค์และความชื่นชอบของคุณได้เลย
6.รีโนเวทบ้านเก่าด้วยพื้นห้องใหม่
มีการทาสี การเปลี่ยนผนังกำแพงกันไปแล้ว ส่วนพื้นบ้านก็เป็นอีกองค์ประกอบที่น่าจะเปลี่ยนตามมา เพื่อให้สีสันและสไตล์สอดคล้องไปกับภาพรวมของบ้าน
เช่นเดียวกับการเปลี่ยนผนัง คุณสามารถเปลี่ยนได้ทั้งสีและวัสดุซึ่งมีอยู่หลากหลายให้เราเล่น ไม่ว่าจะเป็น กระเบื้องสีและลวดลายต่างๆ กระเบื้องหิน ไม้กระดาน ไม้ปาเกต์ เสื่อยาง พรม ฯลฯ หรือที่นิยมกันมากๆ คือ การเลาะเอาไม้กระดานหรือกระเบื้องออกแล้วขัดพื้นให้เป็นปูนเปลือย ก็ดูเรียบเท่ มีสไตล์ไปอีกแบบ ทั้งนี้ การทำพื้นปูนเปลือยยังช่วยประหยัดค่าทำพื้นใหม่จากการรีโนเวทบ้านเก่าด้วย เพราะหลายครั้งการรีโนเวทบ้านมักจะทำให้สภาพพื้นบ้านสึกพัง
7.เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของในบ้าน
บางทีเราอาจจะไม่ต้องคิดไกลไปถึงการทุบหรือการก่อสร้างอะไรให้มากมาย หากโจทย์การรีโนเวทบ้านเก่าราคาประหยัดของเรา คือ การปรับปรุงบ้านให้น่าอยู่หรือเปลี่ยนสไตล์ การเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านก็ช่วยเรื่องนี้ได้!
คำแนะนำสำหรับการเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ให้เหมือนได้บ้านใหม่ คือ ให้เลือกเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ทั้งเซ็ต เช่น เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว การเปลี่ยนเซ็ตเฟอร์นิเจอร์ในห้องนั่งเล่นหรือห้องนอน ฯลฯ
หรือจะเลือกเปลี่ยนแค่บางชิ้น ซึ่งถ้าของชิ้นนั้นมีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งส่งผลต่อบรรยากาศในภาพรวมมาก ยกตัวอย่างเช่น ชั้นหนังสือ เคาน์เตอร์บาร์ โซฟา เป็นต้น
8.จัดเลย์เอาต์หรือผังห้องใหม่
ต่อเนื่องจากการซื้อ/เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ในบ้านใหม่ ก็คือ การจัดห้องโดยมุ่งไปที่การจัดผังหรือเลย์เอาต์ (Layout) ของห้องใหม่ ไม่ใช่เพียงแค่การจัดเก็บห้องและตกแต่งห้องด้วยการเติบของตกแต่ง ซึ่งวิธีการจัดเค้าโครงห้องใหม่ ถือเป็นวิธีรีโนเวทบ้านเก่าราคาประหยัดที่สุดแล้ว
เลย์เอาต์ของห้อง ส่วนใหญ่จะถูกกำหนดโดยตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์ที่มีขนาดใหญ่และช่องว่าง ดังนั้น การจัดเลย์เอาต์ห้องใหม่ง่ายๆ ก็เพียงเปลี่ยนตำแหน่งของเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น เปลี่ยนตำแหน่งวางเตียง นำโซฟาในห้องนั่งเล่นที่เคยอยู่กลางห้องไปชิดกำแพง ฯลฯ แค่เปลี่ยนการวางของของทั้งห้องทั่วทั้งบ้าน รับรองว่า คุณจะรู้สึกได้เลยว่า บรรยากาศในบ้านต่างออกไปอย่างลิบลับ
9.อัปเกรดหน้าบ้านและทางเข้าบ้านให้สวยเหมือนใหม่
หากคุณต้องการ รีโนเวทบ้าน ให้ดูดีเหมือนใหม่ การปรับปรุงหน้าบ้านและทางเข้าบ้านใหม่ก็เป็นตัวเลือกที่เหมือนช่วยให้คุณได้บ้านใหม่ทั้งหลังแล้ว เพราะเมื่อหน้าตาของหน้าบ้านเปลี่ยนไป ความรู้สึกของคนที่มองเข้ามาก็เปลี่ยนไปด้วย
การอัปเกรดหน้าบ้านให้สวยเหมือนใหม่ทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรั้ว ทาสีรั้วใหม่ นำรั้วออก การจัดสวน-ลงต้นไม้เพิ่ม การทาสีผนังหน้าบ้าน การติดกันแสง หรือต่อเติมบางอย่างที่หน้าบ้าน ฯลฯ เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถปรับสไตล์บ้านทั้งหลังได้แล้ว